พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ คุ้มครองอะไรบ้าง และสามารถเบิกได้เท่าไหร่
สำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ทุกคนคงทราบกันดีว่า รถจักรยานยนต์ทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ซึ่งถือเป็นกฎข้อบังคับตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งให้ความคุ้มครองทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณี และบุคคลภายนอก ที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตและร่างกายจากอุบัติเหตุทางรถ แต่แต่หลายคนยังสงสัยว่า พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะคุ้มครองผู้เสียหายกรณีอะไร และให้ความคุ้มครองใดบ้าง เรามาดูกัน
พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ คุ้มครองกรณีอะไร
พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ หรือ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ถือเป็นการทำประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณีและบุคคลภายนอก ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งสามารถแยกออกเป็นกรณีต่าง ๆ ได้ดังนี้อุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี
เช่น รถล้มเอง หรือเสียหลักชนสิ่งกีดขวางอื่นๆ จนเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หากรถมอเตอร์ไซค์คันที่เกิดเหตุมี พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นวงเงิน ดังนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น
- ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ สามารถเบิกพ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 30,000 บาท (จ่ายตามจริง)
- ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ เบิกได้คนละไม่เกิน 35,000 บาท
อุบัติเหตุแบบมีคู่กรณี (พิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายผิด)
แต่ในกรณีที่รถมอเตอร์ไซค์เกิดอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณี แล้วสามารถพิสูจน์ความผิดได้แล้วว่าฝ่ายเราเป็นฝ่ายผิด หากได้รับบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ฝ่ายผิดจะได้รับความคุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนฝ่ายถูกจะได้รับความคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณี (พิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูก)
ดังที่บอกไปข้างต้นว่าหากเราเป็นผู้ประสบภัยที่เป็นฝ่ายถูก นอกจากจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว ยังสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) เป็นวงเงินดังนี้- ค่ารักษาพยาบาล สามารถ เบิกพ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 80,000 บาท (จ่ายตามจริง)
- กรณีทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิต ได้รับเงินค่าชดเชยคนละ 300,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะ
- สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป คนละ 200,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน คนละ 250,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป คนละ 300,000 บาท
- กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ได้รับเงินค่าชดเชย 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
แต่ในทางกลับกัน หากรถมอเตอร์ไซค์ของเราไม่มี พ.ร.บ. และไปชนคนอื่น ฝ่ายคู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูก สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท หากเสียชีวิต 35,000 บาท หลังจากนั้น ทางกองทุนจะไปไล่เบี้ยคืนจากเจ้าของรถ โดยบวกเงินเพิ่มอีก 20% พร้อมค่าปรับที่ไม่ทำ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ และนำรถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่มี พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์มาใช้ เป็นเงินค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ดังนั้น พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ หรือ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ นั้นมีความสำคัญมาก หาก พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ใกล้หมดอายุ ก็ สามารถต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ได้ก่อนล่วงหน้า 3 เดือน หรือก่อน 90 วัน ซึ่งหากใครอยากเพิ่มความคุ้มครองให้มากขึ้นก็ สามารถทำประกันมอเตอร์ไซค์ไว้เพื่อความอุ่นใจ เมื่อเกิดความเสียหายต่อร่างกายหรือทรัพย์สินก็ยังได้รับความคุ้มครอง ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยความเสียหายต่อทรัพย์สิน