ไขข้อเท็จจริงของ "ว่านจั๊กจั่น" วัตถุมงคลหรือแค่ซากสัตว์



ภาพ www.sanook.com


ที่มาที่ไปของ "ว่านจั๊กจั่น"

‘ว่านจั๊กจั่น’ หรือ ‘ว่านต่อเงินต่อทอง’ หลายต่อหลายคนมักจะเข้าใจว่า ‘ว่านจักจั่น’ มันเป็นว่านกึ่งพืชกึ่งสัตว์ประเภทเดียวกับพวกมักกะลีผล จึงทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า ‘ผู้ใดได้บูชาก็จะมีทรัพย์สินงอกเงยไม่ขาดมือ’ ฟังดูแล้วมันน่าอัศจรรย์อะไรปานนั้น และต่อให้เชื่อกันแค่ไหน แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ได้ชี้ชัดไปแล้วว่า เจ้าว่านจั๊กจั่น ที่หลายคนบูชานี่ที่แท้แล้วคือ จั๊กจั่นที่ตายแล้วจากการติดเชื้อรา ไม่มีส่วนไหนที่เป็นว่านหรือพืชเกี่ยวข้องตามที่เข้าใจ เลยแม้แต่น้อย! อึ้งไปเลย !!
"จั๊กจั้นจะติดเชื้อราในขณะที่เป็นตัวอ่อนในช่วงที่ขึ้นมาลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยเหนือดิน ในระยะนี้จั๊กจั่นจะอ่อนแอมาก กอปรกับกับอากาศชื้นจากหน้าฝนที่มีความชื้นสูง ทำให้เชื้อราที่แพร่กระจายได้ดีในอากาศ และเมื่อเชื้อราตกลงไปอยู่บนตัวจั๊กจั่นผู้อ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ จึงทำให้เชื้อราสามารถแทงเส้นใยเข้าไปและเจริญเติบโตภายในตัวจั๊กจันได้ดี โดยอาศัยน้ำเลี้ยงในตัวจั๊กจั่นเป็นอาหาร และทำให้จั๊กจั่นตายในที่สุด
...เมื่อจั๊กจั่นตายแล้วเชี้อราก็หมดออาหาร จึงต้องพยายามไปหาอาหารที่อื่่น โดยการสร้างโครงสร้างสืบพันธุ์ที่มีลักษณะเหมือนเขาโพล่ขึ้นเหนือพื้นดิน (ลักษณะที่เหมือนเขาของว่านจั๊กจั่น) สปอร์ หรือ หน่วยสืบพันธุ์ที่ติดอยู่บริเวณปลายเขาที่สร้างขึ้นเหนือพื้นดิน จะต้องอาศัยลมหรือน้ำในการพัดพาให้ไปตกอยู่ในที่อื่นๆ เพื่อค้นหาจั๊กจั่นโชคร้ายตัวต่อไป"  
อ่านแล้วเหมือนได้ดูหนังเอเลี่ยนในหนัง Sci-Fi ไซไฟ (วิทยาศาสตร์) เลยใช่ไหมละ 😁😁

ภาพจาก rabbitfinance.com

เชื้อราที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในตัวแมลงที่มีชีวิต จัดอยู่ในประเภท เชื้อราทำลายแมลง ราชนิดนี้นักวิจัยสันนิษฐานว่าเป็นเชื้อราสายพันธุ์ Cordyceps sobolifer

จากการศึกษาของนักวิจัยจากไบโอเทคพบว่ามีราทำลายแมลงในประเทศไทยมากกว่า 400 ชนิด พบได้ทั้งบนหนอน แมลงวัน มวน เพลี้ย ผีเสื้อ ปลวก แมลงปอ แมงมุม มด เป็นต้น 



แล้วถ้าเรา  ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลาย เผลอกินเจ้าราชนิดนีั้เข้าไปละ จะเกิดอะไรขึ้น ?


โดยปกติแล้ว พวกเชื้อราทำลายแมลงในว่านจักจั่นนี้ ถึงแม้จะดูสยดสยอง แต่ก็ไม่ใช่เชื้อที่มีพิษเมื่อคนทานเข้าไป แต่ว่าระหว่างที่เชื้อราชนิดนี้เติบโต อาจจะเกิดราอื่นๆ ที่เป็นพิษต่อคนแฝงมาอยู่ด้วยก็ได้ และนี่เป็นสาเหตุว่า ทำไมบางคนทานแล้วไม่เป็นอะไร แต่บางคนทานเข้าไปแล้ว เกิดอาการเป็นพิษจนต้องเข้าโรงพยาบาลกันเลยทีเดียว

แต่ถึงอย่างไร เราก็ไม่ควรเสี่ยงใช่ไหม เพราะถ้าเกิดเจอกับสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดพิษแรงๆ เช่น ราพวกเพนนิซิเลี่ยม ซึ่งก่อให้เกิดสารพิษพวก Tremorgenic mycotoxin โดยเชื้อราชนิดนี้จะไม่มียาถอนพิษ ได้แต่ประคองอาการให้รอดเท่านั้น ซึ่งหากแพ้มากๆ เข้า ก็อาจเสียชีวิตได้ 😱😱


ข้อมูลจาก  : www1a.biotec.or.th

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

All members ของเซเว่น คืออะไร? ใช้ยังไง?

วิธียกเลิกข้อความ SMS ขยันบอก ของธนาคารกสิกรไทย ที่หักเงิน 199 บ

พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ คุ้มครองอะไรบ้าง และสามารถเบิกได้เท่าไหร่