วิธีกู้คืนไฟล์ติดไวรัส Gandcrab ไวรัสเรียกค่าไถ่ | แก้ไวรัสเรียกค่าไถ่ Gandcrab

แก้ไวรัสเรียกค่าไถ่ Gandcrab

วิธีกู้คืนไฟล์ที่ติดไวรัส GandCrab ไวรัสเรียกค่าไถ่ เป็นไวรัสที่ระบาดตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2561  โดยมีคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสนี้สูงถึง 1.5 ล้านเครื่องทั่วโลก ความเสียหายราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และล่าสุดก็มีข่าวดีเมือ Bitdefender บริษัท ซอฟแวร์ป้องกันไวรัสชื่อดัง ได้เผยแพร่เครื่องมือกู้คืนไฟล์ที่ติดไวรัสเรียกค่าไถ่ GandCrab โดยเปิดให้ดาวน์โหลดฟรี และ รองรับการกู้คืนไฟล์จาก GandCrab ได้ทุกเวอร์ชัน

โดยเครื่องมือกู้คืนไฟล์ติดไวรัส GandCrab สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของ Bitdefender  และสามารถอ่านคู่มือการใช้งานได้ที่เว็บไซต์ No More Ransom

แก้ไวรัสเรียกค่าไถ่ Gandcrab

ทั้งนี้ ผู้ใช้ควรคัดลอกไฟล์ที่ถูกเข้ารหัสลับออกมากู้คืนข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นที่ไม่ใช่เครื่องที่ติดมัลแวร์ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

ถึงแม้ว่าไวรัสเรียกค่าไถ่บางตัว เราจะสามารถกู้คืนไฟล์ได้โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงิน แต่ก็มีไวรัสเรียกค่าไถ่อีกเป็นจำนวนมากที่ถึงตอนนี้ยังไม่มีผู้พัฒนาเครื่องมือในลักษณะนี้ออกมา โดยระยะเวลาที่ต้องใช้ในการศึกษาและพัฒนาเครื่องมือสำหรับกู้คืนข้อมูลก็อาจใช้เวลานานหลายเดือน เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ควรคาดหวังว่าถ้าติดไวรัสเรียกค่าไถ่แล้วจะสามารถแก้ไขปัญหาได้เสมอไป  เพราะยังมีบางกรณีที่สร้างไวรัสเรียกค่าไถ่ถูกจับไปแล้ว และดันไปปิดเว็บไซต์และหยุดการทำงาน ส่งผลให้ทำลายกุญแจถอดรหัสลับข้อมูลทิ้งไปด้วย ทำให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อไม่มีโอกาสกู้คืนข้อมูลได้ถึงแม้ว่าจะจ่ายเงินไปแล้ว  ซึ่งกรณีของ GandCrab นี้ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย

ดังนั้น หากมีข้อมูลสำคัญอะไร  เพื่อป้องกัน Ransomware ควรสำรองข้อมูลสำคัญอยู่อย่างสม่ำเสมอ หรือจะสำรองข้อมูลไว้บน cloud ก็เป็นทางเลือกที่ดี  เนื่องจากหากเกิดความเสียหายขึ้น ก็ยังมีข้อมูลสำรองที่พร้อมกลับคืนมาทำงานต่อได้ทันที ใช้ความระมัดระวังในการคลิกไฟล์ต่างๆ ที่สุ่มเสี่ยง เช่น ไม่คลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์แนบในอีเมลที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือต้องสงสัย ไม่ติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่รู้ที่มา อัปเดตระบบปฏิบัติการ หรือซอฟต์แวร์ ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด รวมถึงฐานข้อมูลของโปรแกรมแอนติไวรัสให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด เท่านี้ก็น่าจะอุ่นใจได้แล้วครับ

ข้อมูลจาก Thaicert , Bitdefender 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

All members ของเซเว่น คืออะไร? ใช้ยังไง?

วิธียกเลิกข้อความ SMS ขยันบอก ของธนาคารกสิกรไทย ที่หักเงิน 199 บ

พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ คุ้มครองอะไรบ้าง และสามารถเบิกได้เท่าไหร่